Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

หลวงปู่ ครูบาเจ้าเกษม เขมโก ณ สุสานไตรลักษณ์ นครลำปาง

1 Posts
1 Users
0 Likes
136 Views
pensuda
(@pensuda)
Posts: 2475
Noble Member
Topic starter
 

image

หลวงปู่เกษม เขมโก โดยสถานะเดิมท่านมีเชื้อสายเป็นเจ้าองค์หนึ่งแห่งนครลำปาง นามเดิมของท่านคือ เจ้าเกษม มณีอรุณ ณ ลำปาง สมภพเมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ ปีชวด ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๕๕ ณ บ้านเค้าม่วง ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เจ้าบิดามีนามว่า เจ้าหนูน้อย เจ้ามารดามีนามว่า เจ้าแม่บัวจ้อน เมื่อสมัยเป็นเด็กท่านเรียนหนังสือจบชั้นสูงสุดจากโรงเรียนบุญวงศ์อนุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนอนุบาลในปัจจุบัน

เมื่อหลวงปู่เกษมได้บรรพชาเป็นสามเณร ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ซึ่งเป็นการบวชหน้าไฟในพิธีศพเจ้าอาวาสวัดบุญยืน และหลังจากนั้นอีกสองปี ท่านได้สำเร็จการศึกษา จึงได้บรรพชาอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งการบรรพชาในครั้งนี้หลวงปู่เกษมก็ได้ใช้ชีวิตภายใต้ร่มกาสาวพัตร์ และศึกษาพระธรรมวินัยตลอดมา

จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๖ หลวงปู่เกษมจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระธรรมจินดานายก (ฝาย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งดำรงตำ แหน่งเจ้าคณะจังหวัดลำปางในขณะนั้น เป็นองค์พระอุปัชฌาย์ พระครูอุตตรวงศ์ธาดา เจ้าอาวาสวัดหมื่น ซึ่งดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอเมือง ลำปางในขณะนั้นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระธรรมจินดานายก (อุ่นเรือน) เจ้าอาวาสวัดป่าดัวะ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายา ในนามภาษามคธว่า "เขมโก" ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่เกษมมีอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้รับฉายาว่า "มหาเกษม"

ครั้นเมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่เกษมก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจากพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ต่างๆ จนหลวงปู่เกษมมีความรู้แตกฉานในพระ ธรรมวินัย และเชี่ยวชาญในภาษาบาลีเป็นอย่างดียิ่ง โดยได้รับฟังคำบอกเล่าจากศิษย์ผู้ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดในหลวงปู่เกษมว่า เมื่อเวลามีพระ ภิกษุมาหาหลวงปู่ หลวงปู่จึงได้พิจารณาและรู้ว่าเป็นพระที่มีเปรียญ เชี่ยวชาญในบาลี แล้วหลวงปู่จะพูดจาสนทนาเป็นภาษาบาลีทันที ซึ่งใน เรื่องนี้ก็ได้เคยมีพระภิกษุที่เป็นพระมหาสอบได้เปรียญธรรมหลายประโยค ที่ได้รู้กิตติศัพท์ของหลวงปู่เป็นภาษาบาลีทันที ผลที่สุดได้ถูกหลวงปู่ เกษมสนทนาไล่เบี้ยเอาถึงแก่จนต่อถ้อยความ เหงื่อตกต้องล่าถอยกลับวัดไปหลายราย กิตติศัพท์ในด้านนี้ของหลวงปู่เป็นที่เลื่องลือทีเดียว ถึงขนาดที่พระอาจารย์หลายองค์ได้พากันขนานนามให้หลวงปู่เกษมว่า "มหาเกษม"

โดยที่หลวงปู่เกษมมิได้เคยเข้าสอบแปลเปรียญธรรมมาก่อนเลย ผู้เขียนได้เคยไปกราบนมัสการหลวงปู่เกษมมาหลายครั้ง ครั้งหนึ่งเมื่อผู้เขียน ไปถึงตัวเมืองลำปาง ก็ได้ว่าจ้างรถสามล้อให้ขี่ไปส่งที่สุสานไตรลักษณ์ ซึ่งบอกกับผู้ขี่สามล้อ แกก็ถามผู้เขียนว่าจะไปหามหาเกษมรึครับ เล่น เอาผู้เขียนถึงกับงง แกก็หัวเราะแล้วอธิบายให้ผู้เขียนฟังว่า ที่นี่พวกรถสามล้อส่วนมากเขามักจะเรียกหลวงปู่ว่ามหาเกษมกันทั้งนั้น เพราะท่าน เก่งจริงๆ พระมาจากไหนต่อไหนเยอะแยะ เข้าไปลองดีกับหลวงปู่ นั่งคุยได้ไม่นานเป็นต้องกลับหมด บางทีก็เป็นพระผู้ใหญ่อย่างพระครูยังงี้ มาคุยกับหลวงปู่ไม่ทันถึงสองสามนาทีต้องกราบลาหลวงปู่ เพราะอายหลวงปู่ที่คิดไปลองดีกับท่าน แต่แล้วกลับไปเจอเอาของดีกว่าเข้า กล่าว จบแล้วแกก็ยังควักเอาเหรียญที่ห้อยคอออกมาอวด

หลวงปู่เกษมได้ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระกับพระครูบาแก่น พระอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงแห่งวัดประตูป่อง เมื่อศึกษาได้พอสมควรแล้วก็ ได้จาริกหาวิเวกไปตามป่าช้าต่างๆ เพื่อบำเพ็ญสมาจิต

หลวงปู่เป็นพระอาจารย์ผู้หนึ่งที่มีพลังจิตสูงมาก สามารถล่วงรู้ถึงจิตใจผู้ที่มาหาท่านได้ ครั้งหนึ่งผู้เขียนได้ไปกราบเยี่ยมนมัสการหลวงปู่เกษม ขณะที่รออยู่ที่ศาลาซึ่งได้จัดไว้เป็นสถานที่สำหรับต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือน ได้มีพระภิกษุองค์หนึ่งมากับหญิงสาวผู้หนึ่งพยายามที่จะเข้าไปพบหลวงปู่เกษมให้ได้ ซึ่งหลวงปู่ก็ได้สั่งกับลูกศิษย์ให้ออกมาบอกกับพระองค์นั้น ว่าให้ไปรอพบท่านที่สระบุรี แล้วพระองค์นั้นกับผู้หญิงก็กลับไป

เมื่อผู้เขียนได้จุดธูปเทียนกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแล้ว ก็กราบนมัสการหลวงปู่ พร้อมกับกล่าวคำถวายของ อันเป็นชุดยา ซึ่งได้จัดเตรียมไปถวายหลวงปู่เป็นภาษาบาลี ตามที่หลวงปู่ได้สอนให้ลูกศิษย์ไว้เพื่อแนะนำต่ออาคันตุกะผู้มากราบเยี่ยมหลวงปู่ เมื่อผู้เขียนกล่าวจบท่านสวดให้พร ซึ่งตลอดเวลาหลวงปู่จะนั่งสวดอยู่ในห้องที่กั้นไว้ด้วยผ้าจีวรและเมื่อเดินออกมา นอกห้อง หลวงปู่ได้บอกกับศิษย์ของท่านว่า พระองค์นั้นมาหา ฉันบอกให้ไปรอที่สระบุรีไปแล้ว, ไปแล้ว ท่านกล่าวด้วยเสียงแหบๆ แบบคนไม่ มีเสียง ปกติหลวงปู่ไม่ชอบพูดมาก และมักไม่ค่อยพูดเสียงดัง ท่านบอกว่าพูดมากๆ จะปฏิบัติธรรมได้น้อย ดังนั้นเมื่อเวลาใครจะไปหาจึงมัก ไม่ค่อยมีโอกาสได้พบ และเวลาที่ใครจะไปขออนุญาตให้ท่านทำอะไรให้ บางทีท่านจะเขียนทิ้งท้ายไว้ว่า ก.ส.ว.ล. ซึ่งเป็นคำย่อของคำว่า "กิจ เสียเวลา" นั่นเอง

แต่ที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้เขียนก็คือ หลวงปู่เกษมท่านทราบได้อย่างไรว่าพระองค์นั้นมาจากสระบุรี ในเมื่อพระองค์นั้นได้บอกกับลูก ศิษย์ของหลวงปู่ไปเพียงว่าจะขอเข้าพบเท่านั้น แต่เท่าที่ผู้เขียนทราบก่อนก็เพราะว่าหญิงสาวคนที่มาด้วยได้คุยกับผู้เขียน และบอกว่ามาจาก สระบุรีได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงปู่จึงมากราบนมัสการ จะว่าหลวงปู่ได้ยินเสียงคุยกันก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะเราพูดกันเบาๆ และห้องของ หลวงปู่ก็อยู่ห่างออกไปมาก

ดังนั้น ผู้เขียนจึงคิดว่าหลวงปู่เกษมจะต้องมีความสำเร็จในฌานขั้นสูง ซึ่งจัดอยู่ในขั้น ทิพพโสต (หูทิพย์) อย่างแน่นอน

หลังจากนั้นหลวงปู่เกษมก็ได้ปฏิบัติในกิจ อันเป็นสิ่งที่เราท่านต่างก็ได้รับฟังกันมานาน นั่นคือ หลวงปู่จะเริ่มเดินเก็บเศษกระดาษ ที่ใครๆ ได้ทิ้งเอาไว้เฉพาะที่มีตัวหนังสือ ท่านจะเก็บเอาไปล้างน้ำจนสะอาด แล้วเอาไปเสียบไว้ในที่สูงๆ บนกิ่งไม้บ้าง หรือที่กอไผ่บ้าง สิ่งเหล่า นี้ผู้เขียนได้ไปพบเห็นมาด้วยตาของตนเอง

หลังจากนั้นก็มีชาวบ้านในละแวกนั้นนำของมาถวายซึ่งหลวงปู่ก็อนุโมทนาให้ วันนั้นพอดีกับ หลวงปู่มีกิจที่จะต้องไปสวดบังสุกุลศพที่วัดอะไรผู้เขียนก็จำไม่ได้ต้องขออภัย แล้วหลวงปู่ก็ได้สั่งไว้ว่า สุสานปิด ๔ วันซึ่งท่านได้พูดขึ้นดังๆ จนได้ยินทั่วกัน ทำให้ใครๆ ที่ได้ยินต่างพากันไปตีเป็นหวยแต่ผลจะเป็นอย่างไรผู้เขียนไม่ทราบ เพราะไม่ได้นึกถึงเรื่องนี้จึงไม่ได้ติดตามผล

เกี่ยวกับการฉันอาหาร หลวงปู่ฉันอาหารไม่เหมือนใคร อาหารที่ท่านฉันเป็นอาหารที่ไม่มีรส ไม่มีความเอร็ดอร่อยแต่อย่างใด ท่านจะทิ้งไว้ค้างวัน ค้างคืนจนบูด เพราะหลวงปู่ไม่ได้ติดอยู่กับรูปรสกลิ่นเสียง กามฉันทะใดๆ การฉันอาหารของหลวงปู่ไม่เป็นเวลา สุดแต่ว่าร่างกายจะต้องการเมื่อ ใด บางครั้ง ๓ วันท่านจะฉันสักมื้อ บางครั้งก็ ๗ วัน และเวลาก็ไม่แน่นอน บางทีท่านจะฉันเอาตอนตี ๑ เคยมีผู้ถามหลวงปู่ว่าท่านฉันอาหารผิด เวลาเช่นนี้จะเป็นการผิดวินัยหรือไม่ หลวงปู่ก็ตอบว่า เวลาของหลวงปู่ไม่มีบนโลกมนุษย์ เพราะทุกสรรพสิ่งในโลกมนุษย์เป็นแต่เพียงสมมติขึ้น ไม่มีแม้กระทั่งตัวตน นี้คือข้อธรรมะของหลวงปู่

เวลาฉันอาหารหลวงปู่จะหยิบเศษอาหารวางไว้ข้างตัว แม้แต่เศษขนมปังก็ต้องบี้เป็นชิ้นเล็กชิ้น น้อยเพื่อโปรยให้มดคาบไปกินได้ บางทีก็โยนเข้าไปในป่าช้า บางคนนำไปกล่าวกันว่าหลวงปู่เกษมเลี้ยงผี ซึ่งนั้นเป็นคำกล่าวที่ไม่รู้จริงและเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก การที่หลวงปู่เกษมโยนเศษอาหารเข้าไปในป่าช้า ก็เพื่อให้สัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่าช้า เช่น มด หนู หรืองู ได้กินเป็น อาหาร เป็นการแผ่เมตตาของท่าน ไม่ใช่เป็นการเลี้ยงผีแต่อย่างใด

หลวงปู่เกษมได้เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน สืบแทนเจ้าอาวาสองค์ก่อนที่ถึงแก่มรณภาพ หลวงปู่ได้ครองตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ไม่นานก็ให้รู้สึกเบื่อหน่ายในความไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงได้สละตำแหน่งและหลีกหนีจากคำอ้อนวอนของพระภิกษุสามเณร และสานุศิษย์ ออกจาริกจร

กระทั่งท่านได้เห็นว่าที่สุสานไตรลักษณ์เป็นป่าช้าที่มีความสงบเงียบ เป็นเสนาสนะที่สงัดเหมาะแก่การปฏิบัติพิจารณาธรรม ท่านจึงได้พำนักอาศัยอยู่ ในสุสานไตรลักษณ์ตราบจนกระทั่งทุกวันนี้

ปัจจุบันหลวงปู่เกษมมีอายุได้ ๘๒ ปีแล้ว นับเวลาแต่อุปสมบทจนปัจจุบัน ๖๑ พรรษา

(บทความนี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือของ สำนักพิมพ์ ใบโพธิ์ จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้)

 

#วัตถุมงคล หลวงพ่อ เกษม เขมโก ทุก รุ่น
#หลวงพ่อเกษม รุ่นไหนดี
#พระหลวงพ่อ เกษม ที่ แพงที่สุด
#หลวงพ่อเกษม ราคา
#เหรียญหลวงพ่อ เกษม รุ่นแรก ราคา
#หลวงพ่อเกษม รุ่นนิยม
#หลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่นแรก
#ประวัติ จริง หลวงพ่อ เกษม เขมโก แสดง ปาฏิหาริย์

 
Posted : 19/10/2021 7:10 pm
Share: